Published using Google Docs
TFT Draw Your Destiny Open Tournament Rulebook
Updated automatically every 5 minutes

Draw Your Destiny Open Tournament Rulebook


หนังสือกฎระเบียบการแข่งขัน Teamfight Tactics ประเทศไทย


สารบัญ

TFT Draw Your Destiny Open Tournament

1. ความรู้ความเข้าใจ

2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

3. ข้อมูลการแข่งขัน

3.1. คำอธิบาย

3.2. กำหนดการ

3.3. เซิร์ฟเวอร์ Discord

4. รูปแบบการแข่งขัน

4.1. ข้อกำหนดและเงื่อนไข

4.2. สรุปตารางอันดับ

4.3. รูปแบบและกติกา

4.4. ตารางการแข่งขัน

4.5. ระบบการแข่งขัน

5. การกระจายเงินรางวัล

6. ข้อปฏิบัติในการแข่งขัน

6.1. บทบาทของคณะกรรมการ

6.2. แพตช์ที่ใช้ในการแข่งขัน

6.3. การสร้างล็อบบี้เกม

6.4. ข้อปฏิบัติก่อนเริ่มแข่ง

6.5. เงื่อนไขในการเริ่มเกม

6.6. ข้อปฏิบัติเมื่อจบเกม

6.7. ช่องถ่ายทอดสดหลัก

7. กติกาของเกม

7.1. กฎการออกจากเกม

7.2. การรีเมคเริ่มเกมใหม่

7.3. การใช้โอเวอร์เลย์

7.4. การสตรีมมุมมองตัวเอง

8. การละเมิดกฎ

9. เจตนารมณ์ของกฎระเบียบ

Thailand Player Policy

1. ข้อแนะนำทั่วไป

2. การบังคับใช้กฎ

3. คุณสมบัติผู้เล่น

4. บัญชีผู้เล่น

5. การโฆษณาและการสนับสนุน

6. พฤติกรรมผู้เล่น

7. เจตนารมณ์ของกฎระเบียบ

8. พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

Global Penalty Index


TFT Draw Your Destiny Open Tournament

  1. ความรู้ความเข้าใจ

  1. ข้อแนะนำทั่วไป

  1. หนังสือกฎระเบียบการแข่งขันอย่างเป็นทางการฉบับนี้ทำหน้าที่เป็นกฎระเบียบ กติกา และข้อตกลงสำหรับการแข่งขัน TFT Draw Your Destiny Open Tournament ตลอดจนจบทั้งการแข่งขัน
  2. หนังสือกฎระเบียบฉบับนี้ ออกแบบมาเพื่อให้การแข่งขันของ Teamfight Tactics (“TFT”) เป็นไปอย่างราบรื่น โปร่งใส ยุติธรรม และสอดคล้องกับกฎระเบียบของทาง Riot Games
  3. หนังสือกฎระเบียบการแข่งขันอาจมีการแปลเป็นฉบับภาษาอื่น ๆ หากมีความแตกต่างในการแปลภาษา ให้ใช้หนังสือกฎระเบียบฉบับภาษาไทยเป็นตัวตัดสินเป็นหลัก
  4. การเข้าร่วมการแข่งขันในรายการนี้จะไม่ถูกนับว่าเป็นการเข้าร่วมการแข่งขัน, การประกวด, หรือชิงเงินรางวัลในรายการอื่น ๆ
  1. การยอมรับกฎ

ผู้สมัครทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันนี้ (“ผู้เข้าแข่งขัน”) ถือว่ายินยอมกฎระเบียบทั้งหมดในหนังสือกฎระเบียบของ TFT Draw Your Destiny Open Tournament, Thailand Player Policy, Legal Jibber Jabber, Esports Global Code of Conduct, และ Terms of Service ของ Riot Games ในขณะที่เข้าร่วมแข่งในเกมหรือแมตช์ใดก็ตามที่เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันนี้

  1. การบังคับใช้กฎ

ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์มีอำนาจตัดสินสูงสุดในการบังคับใช้กฎระเบียบและลงโทษหรือตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันที่ละเมิดกฎตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ ‘การละเมิดกฎ’

  1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

  1. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีก่อนถึงวันเริ่มการแข่งขันจึงจะมีสิทธิ์ลงแข่ง
  2. ผู้เข้าแข่งขันต้องมีอายุอย่างน้อย 13 ปีขึ้นไปและผู้เข้าแข่งขันที่อายุต่ำกว่า 20 ปีจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง จึงจะมีสิทธิ์ลงแข่ง
  3. ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกขอดูหนังสือรับรองถิ่นที่พักอาศัยหรือเอกสารยืนยันอายุทั้งก่อน ขณะ และหลังการแข่งขัน
  1. ข้อมูลการแข่งขัน

  1. คำอธิบาย

การแข่งขัน TFT Draw Your Destiny Open Tournament จะเป็นการแข่งขันต่อเนื่องระยะเวลาสองสัปดาห์แบบออนไลน์ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน - 12 พฤษภาคม 2567 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะเริ่มการแข่งขันในรอบ Open Qualifier และจะต้องแข่งขันกันจนกว่าจะเหลือผู้เล่นที่ดีที่สุด 64 คน ที่จะต้องไปเจอกับผู้เล่นรับเชิญที่รออยู่ในรอบ Playoffs อีก 64 คน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นแรงค์สูงและผู้เล่นที่ถูกรับเชิญโดยตรง หลังจากนั้น ผู้เล่น 128 คนสุดท้ายนี้ จะต้องแข่งกันจนกว่าจะได้นักวางแผนอันดับ 1 ประจำทัวร์นาเมนต์นี้

  1. กำหนดการ

กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมด้วยวิจารณญาณของผู้จัดทัวร์นาเมนต์ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าหากมีการเปลี่ยนแปลงวันเวลาดังกล่าว

  1. การลงทะเบียน
  1. เปิดลงทะเบียน: วันพุธที่ 3 เมษายน เวลา 12.00 น.
  2. ปิดลงทะเบียน: วันจันทร์ที่ 22 เมษายน เวลา 23.59 น.
  1. สรุปตารางอันดับ
  1. Ladder Snapshot: วันจันทร์ที่ 15 เมษายน เวลา 00.01 น.
  1. การเช็คอินรายงานตัว
  1. เปิดเช็คอิน: วันพุธที่ 24 เมษายน เวลา 12.00 น.
  2. ปิดเช็คอิน: วันเสาร์ที่ 27 เมษายน เวลา 23.59 น.
  1. วันเวลาของการแข่งขันแต่ละรอบ
  1. รอบ Open Qualifier เริ่ม: วันพฤหัสที่ 2 พฤษภาคม เวลา 20.00 น.
  2. รอบ Playoffs เริ่ม: วันพุธที่ 8 พฤษภาคม เวลา 20.00 น.
  1. เซิร์ฟเวอร์ Discord

  1. การสื่อสาร: ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องทำการสื่อสารผ่านเซิร์ฟเวอร์ Discord อย่างเป็นทางการที่ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้จัดสรรไว้ให้เท่านั้น
  1. ลิงก์เข้าร่วมเซิร์ฟเวอร์ Discord: discord.gg/thailandtftesports
  2. ข่าวสาร และข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแข่งขันจะทำการประกาศผ่าน Discord
  3. ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องมีความพร้อมในการติดต่อสื่อสาร ตอบกลับกับทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ผ่านทาง Discord ตลอดเวลาขณะลงแข่ง
  4. หากอยู่นอกช่วงเวลาแข่ง ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องสามารถตอบกลับไปทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ภายในเวลาอันเหมาะสมได้
  5. หากไม่สามารถสื่อสารหรือตอบกลับได้ภายในเวลาอันเหมาะสมหลังจากที่ผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้พยายามติดต่อไปแล้ว อาจถูกลงโทษหรือตัดสิทธิ์จากการแข่งขันได้
  6. ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องสามารถสื่อสาร (ทางวาจาและผ่านการเขียน) เป็นภาษาไทยกับผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ และผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้
  1. การลงทะเบียน: ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องลงทะเบียนผ่านเซิร์ฟเวอร์ Discord
  1. ผู้เข้าแข่งขันทุกคนรับรองได้ว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในการลงทะเบียนนั้นถูกต้องและครบถ้วน
  2. Riot ID ของผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นบัญชีที่มีอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ไทยเท่านั้น
  3. หากมีการเปลี่ยนแปลงของ Riot ID ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำการแก้ไขข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนหมดเวลาเช็คอิน หากตรวจพบว่า Riot ID ไม่ถูกต้อง ผู้เข้าแข่งขันอาจถูกตัดสิทธิ์
  4. หากมีการให้ข้อมูลผิดหรือปลอมแปลงข้อมูลในการลงทะเบียน ผู้จัดทัวร์นาเมนต์มีอำนาจในการตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขัน รวมถึงยึดเงินรางวัลคืน
  1. การเช็คอินรายงานตัว: ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องเช็คอินผ่านเซิร์ฟเวอร์ Discord
  1. หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องมารายงานตัวใน Discord ในช่วงเวลาเช็คอิน เพื่อยืนยันการเข้าร่วมการแข่งขัน ไม่อย่างนั้นจะถูกตัดสิทธิ์
  2. หลังหมดเวลารายงานตัวแล้ว ผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถเปลี่ยนแปลง Riot ID ได้จนกว่าจะจบการแข่งขัน หากทำการเปลี่ยนแปลงระหว่างนี้ อาจถูกตัดสิทธิ์ในการแข่ง
  1. รูปแบบการแข่งขัน

  1. ข้อกำหนดและเงื่อนไข

  1. เกม: เกมคือ การเล่น Teamfight Tactics ที่ดำเนินจนกว่าจะมีผู้ชนะ โดยผู้ชนะของแต่ละเกมคือผู้เล่นที่เหลือรอดเป็นคนสุดท้าย
  2. แมตช์: แมตช์คือ การแข่งขันที่แบ่งผู้เล่นออกเป็นล็อบบี้ ๆ โดยแต่ละแมตช์จะประกอบไปด้วยหนึ่งเกมหรือมากกว่า
  3. รอบการแข่งขัน: รอบการแข่งขัน จะประกอบไปด้วยอย่างน้อยหนึ่งแมตช์หรือมากกว่า โดยปกติหนึ่งรอบของการแข่งขันจะเท่ากับหนึ่งวัน หากไม่ได้ระบุไว้เป็นอื่น ผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนได้มากที่สุดในแต่ละรอบของการแข่งขันจะได้ไปแข่งรอบถัดไป
  4. แรงค์: การจัดอันดับที่มีในเกมอย่างเป็นทางการ
  1. สรุปตารางอันดับ (Ladder Snapshot)

การคัดเลือกผู้เล่นรับเชิญจะคัดเลือกผ่าน Ladder Snapshot นั่นก็คือการสรุปตารางอันดับที่มีในเกมอย่างเป็นทางการ โดยจะบันทึกข้อมูลแรงค์ของผู้เล่นที่ลงสมัครไว้ ณ เวลาที่ Ladder Snapshot เกิดขึ้น เพื่อหาผู้เล่นอันดับสูงสุด 48 คน ที่จะได้รับสิทธิ์ในการลงแข่งในรอบ Playoffs ได้ทันที โดยไม่ต้องแข่งรอบ Open Qualifier

  1. Ladder Snapshot จะเกิดขึ้น ณ วันจันทร์ที่ 15 เมษายน เวลา 00.01 น.
  2. ผู้เล่นจะต้องลงทะเบียนเข้าแข่งขันก่อนเวลาที่ Ladder Snapshot เกิดขึ้น และ Riot ID ของผู้เล่นที่ลงทะเบียนไว้จะต้องตรงกับ Riot ID ที่แสดงบนตารางอันดับ จึงจะได้รับสิทธิ์
  3. มีเพียงผู้เล่นอันดับสูงสุด 48 คนบนตารางอันดับ ณ เวลาที่ Ladder Snapshot เกิดขึ้นเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิ์ในการแข่งรอบ Playoffs โดยไม่ต้องแข่งรอบ Open Qualifier และผู้เล่นที่อันดับรองลงมาถือเป็นผู้เล่นในรายชื่อสำรองหากมีผู้สละสิทธิ์
  4. ผู้เล่นจะต้องยืนยันการเข้าร่วมการแข่งขันภายในเวลาที่กำหนดเพื่อรักษาสิทธิ์ มิเช่นนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ให้กับผู้เล่นลำดับถัดมาในรายชื่อสำรอง
  5. หากมีผู้สละสิทธิ์ ผู้เล่นในรายชื่อสำรองจะต้องยืนยันการเข้าร่วมการแข่งขันภายในเวลาที่กำหนดเช่นกัน
  6. การคัดเลือกผู้เล่นรับเชิญจากตารางอันดับ อ้างอิงจากแรงค์และแต้ม LP ณ เวลาที่ Ladder Snapshot เกิดขึ้น
  7. เกมที่จบก่อน ณ เวลาที่ Ladder Snapshot เกิดขึ้นเท่านั้นที่จะถูกนับ เกมที่เริ่มก่อนแต่จบภายหลังจะไม่ถูกนับ ตามตารางอันดับภายในเกม
  8. Ladder Snapshot ของรายการแข่งขันนี้ ไม่มีผลหรือส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการสรุปตารางอันดับในการแข่งขัน, การประกวด, หรือชิงเงินรางวัลในรายการอื่น ๆ
  1. รูปแบบและกติกา

ระยะเวลาการแข่งรอบ Open Qualifier ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน เช่น วันที่ 1 และวันที่ 2 ในรอบ Open Qualifier อาจถูกยกเลิกหากมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันไม่เพียงพอ

  1. รอบ Open Qualifier วันที่ 1
  1. รอบแข่งของผู้เข้าแข่งขัน ≥ 2048 คน
  2. ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มให้แข่งในแต่ละล็อบบี้ และต้องแข่งทั้งหมด 2 เกม
  3. ผู้เข้าแข่งขัน 4 อันดับสูงสุดของล็อบบี้นั้น ๆ จะผ่านรอบนี้เพื่อไปแข่งวันถัดไป หากมีผู้เล่นในล็อบบี้ที่คะแนนเสมอกัน จะวัดจากกฎไทเบรกเกอร์
  1. รอบ Open Qualifier วันที่ 2
  1. รอบแข่งของผู้เข้าแข่งขัน ≥ 1024 คน
  2. ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มให้แข่งในแต่ละล็อบบี้ และต้องแข่งทั้งหมด 2 เกม
  3. ผู้เข้าแข่งขัน 4 อันดับสูงสุดของล็อบบี้นั้น ๆ จะผ่านรอบนี้เพื่อไปแข่งวันถัดไป หากมีผู้เล่นในล็อบบี้ที่คะแนนเสมอกัน จะวัดจากกฎไทเบรกเกอร์
  1. รอบ Open Qualifier วันที่ 3
  1. รอบแข่งของผู้เข้าแข่งขัน ≥ 512 คน
  2. ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มให้แข่งในแต่ละล็อบบี้ และต้องแข่งทั้งหมด 2 เกม
  3. ผู้เข้าแข่งขัน 4 อันดับสูงสุดของล็อบบี้นั้น ๆ จะผ่านรอบนี้เพื่อไปแข่งวันถัดไป หากมีผู้เล่นในล็อบบี้ที่คะแนนเสมอกัน จะวัดจากกฎไทเบรกเกอร์
  1. รอบ Open Qualifier วันที่ 4
  1. รอบแข่งของผู้เข้าแข่งขัน ≥ 256 คน
  2. ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มให้แข่งในแต่ละล็อบบี้ และต้องแข่งทั้งหมด 3 เกม
  3. ผู้เข้าแข่งขัน 4 อันดับสูงสุดของล็อบบี้นั้น ๆ จะผ่านรอบนี้เพื่อไปแข่งวันถัดไป หากมีผู้เล่นในล็อบบี้ที่คะแนนเสมอกัน จะวัดจากกฎไทเบรกเกอร์
  4. เมื่อแข่งจนจบวัน ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับคะแนนพิเศษขึ้นอยู่กับอันดับท้ายวัน ก่อนเริ่มแข่งวันที่ 5 ดังนี้:
  1. รอบ Open Qualifier วันที่ 5
  1. รอบแข่งของผู้เข้าแข่งขัน ≥ 128 คน
  2. ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มให้แข่งในแต่ละล็อบบี้ และต้องแข่งทั้งหมด 3 เกม
  3. เมื่อแข่งขันจนจบวันที่ 5 จะมีการนับคะแนนที่ผู้เข้าแข่งขันทำได้จาก 3 เกมที่ได้แข่งไป โดยจะมีผู้เข้าแข่งขันเพียง 64 อันดับแรกเท่านั้นที่จะได้ไปแข่งต่อในรอบ Playoffs (อิงจากอันดับท้ายวัน) ผู้เข้าแข่งขันนอกเหนือจากนี้ถือว่าตกรอบ
  1. รอบ Playoffs วันที่ 1
  1. รอบแข่งของผู้เข้าแข่งขัน 128 คน
  2. ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านรอบคัดเลือก Open Qualifier และผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับเชิญในรอบ Playoffs จะถูกจัดแบ่งกลุ่ม โดยทุกล็อบบี้จะประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขัน 4 คนจากรอบคัดเลือก และ 4 คนจากที่ได้รับเชิญ
  1. ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านรอบคัดเลือก จะถูกจัดวางลำดับโดยอิงจากอันดับท้ายวันในรอบ Open Qualifier วันที่ 5
  2. ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับเชิญในรอบ Playoffs ทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นคัดเลือก 48 คนจาก Ladder Snapshot และผู้เล่น 16 คนที่ถูกรับเชิญโดยตรง จะถูกจัดวางลำดับโดยอิงจากกฎ ‘การจัดวางลำดับครั้งแรก’
  1. ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มให้แข่งใน 16 ล็อบบี้ และต้องแข่งทั้งหมด 3 เกม
  2. ผู้เข้าแข่งขัน 4 อันดับแรกของล็อบบี้นั้น ๆ จะผ่านรอบนี้เพื่อไปแข่งวันถัดไป หากมีผู้เล่นในล็อบบี้ที่คะแนนเสมอกัน จะวัดจากกฎไทเบรกเกอร์
  1. รอบ Playoffs วันที่ 2
  1. รอบแข่งของผู้เข้าแข่งขัน 64 คน
  2. ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มให้แข่งใน 8 ล็อบบี้ และต้องแข่งทั้งหมด 3 เกม
  3. ผู้เข้าแข่งขัน 4 อันดับแรกของล็อบบี้นั้น ๆ จะผ่านรอบนี้เพื่อไปแข่งวันถัดไป หากมีผู้เล่นในล็อบบี้ที่คะแนนเสมอกัน จะวัดจากกฎไทเบรกเกอร์
  1. รอบ Playoffs วันที่ 3 และวันที่ 4
  1. รอบแข่งของผู้เข้าแข่งขัน 32 คน
  2. วันที่ 3 และวันที่ 4 นับว่าเป็นรอบการแข่งขันรอบเดียว
  3. ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มให้แข่งใน 4 ล็อบบี้ และต้องแข่งทั้งหมด 8 เกม ภายในระยะเวลา 2 วัน
  4. หลังจากแข่งจบทุก ๆ 2 เกม ผู้เข้าแข่งขันจะถูกจัดแบ่งกลุ่มไปแข่งในล็อบบี้ใหม่
  5. เมื่อแข่งขันจนจบวันที่ 3 และวันที่ 4 ของรอบ Playoffs จะมีการนับคะแนนที่ผู้เข้าแข่งขันทำได้จาก 8 เกมที่ได้แข่งไป โดยจะมีผู้เข้าแข่งขันเพียง 8 อันดับแรกเท่านั้นที่จะได้ไปแข่งต่อในรอบ Final (อิงจากอันดับท้ายวัน) ผู้เข้าแข่งขัน 24 คนที่เหลือถือว่าตกรอบ
  1. รอบ Playoffs วันที่ 5 (รอบ Final)
  1. ผู้เข้าแข่งขัน 8 คนสุดท้ายจะแข่งกันในรูปแบบ Checkmate
  2. ผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนได้ 20 คะแนนในวันที่ 5 จะอยู่ในสถานะที่เรียกว่า “เช็ค”
  3. เมื่อผู้เข้าแข่งขันอยู่ในสถานะ “เช็ค” แล้ว ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะต้องชนะให้ได้ 1 เกม ถึงจะชนะการแข่งขันนี้
  4. มีผู้เข้าแข่งขันอยู่ในสถานะ “เช็ค” ได้มากกว่าหนึ่งคนในเวลาเดียวกัน
  5. หากไม่มีผู้เข้าแข่งขันคนไหนที่อยู่ในสถานะ “เช็ค” ชนะ หลังจากแข่งไปแล้ว 7 เกม ผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ในสถานะ “เช็ค” ที่มีคะแนนสูงสุดในเกมที่ 8 จะถือว่าชนะการแข่งขันนี้
  6. เมื่อมีผู้ชนะการแข่งขันแล้ว ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ จะถูกจัดอันดับในการแข่งโดยนับจากคะแนนที่ทำได้ในรอบ Final
  1. ตารางการแข่งขัน

  1. ตารางการแข่งขันนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ลงแข่ง ด้วยดุลยพินิจของผู้จัดทัวร์นาเมนต์แต่เพียงผู้เดียว
  2. ผู้เข้าแข่งขันจะรับการแจ้งเตือนล่วงหน้าหากมีการเปลี่ยนแปลงวันเวลาดังกล่าว

รอบ Open Qualifier

วันที่

วันและเวลา

รอบแข่ง

จำนวนเกม

วันที่ 1

พฤหัสที่ 2 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน ≥ 2048 คน

2 เกม

วันที่ 2

ศุกร์ที่ 3 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน ≥ 1024 คน

2 เกม

วันที่ 3

เสาร์ที่ 4 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน ≥ 512 คน

2 เกม

วันที่ 4

อาทิตย์ที่ 5 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน ≥ 256 คน

3 เกม

วันที่ 5

จันทร์ที่ 5 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน ≥ 128 คน

3 เกม

 รอบ Playoffs (ถ่ายทอดสด)

วันที่

วันและเวลา

รอบแข่ง

จำนวนเกม

วันที่ 1

พุธที่ 8 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน 128 คน

3 เกม

วันที่ 2

พฤหัสที่ 9 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน 64 คน

3 เกม

วันที่ 3

ศุกร์ที่ 10 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน 32 คน

4 เกม

วันที่ 4

เสาร์ที่ 11 พ.ค.

20.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน 32 คน

4 เกม

วันที่ 5

อาทิตย์ที่ 12 พ.ค.

16.00 น.

ผู้เข้าแข่งขัน 8 คน

สูงสุด 8 เกม

  1. ระบบการแข่งขัน

  1. ระบบคะแนน (Points System): ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับคะแนนเมื่อจบเกม และคะแนนจะเริ่มนับใหม่ในทุก ๆ รอบการแข่ง หากไม่ได้ระบุไว้เป็นอื่น โดยผู้เข้าแข่งขันจะได้รับคะแนนตามอันดับที่ทำได้ในเกมดังนี้:

อันดับที่

1

2

3

4

5

6

7

8

คะแนน

8

7

6

5

4

3

2

1

  1. อันดับท้ายวัน (Standings): การคำนวณอันดับท้ายวัน จะนับจากคะแนนที่ทำได้ในแต่ละเกมเป็นหลัก และจะถูกคำนวณทุกครั้งที่จบรอบการแข่งขัน โดยอันดับท้ายวันจะใช้ในการตัดสิน แต่ไม่จำกัดเพียงดังต่อไปนี้:
  1. กฎไทเบรกเกอร์ (Tiebreaker): กฎไทเบรกเกอร์จะถูกใช้เป็นเกณฑ์เพื่อตัดสินอันดับท้ายวันหากมีผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนได้เท่ากัน จะตัดสินผู้ชนะโดยเรียงตามลำดับจาก:
  1. คะแนนสะสมในรอบการแข่งนั้น ๆ
  2. จำนวนครั้งที่ได้ 4 อันดับแรก บวกกับจำนวนครั้งที่ชนะ ในรอบการแข่งนั้น ๆ
  3. จำนวนครั้งของแต่ละอันดับที่ทำได้ในรอบการแข่งนั้น ๆ (อันดับที่ 1, 2, 3, ฯลฯ)
  4. อันดับที่ได้ในเกมสุดท้ายของรอบการแข่งนั้น ๆ
  5. การจัดวางลำดับครั้งแรก
  1. การจัดวางลำดับผู้เล่น (Seeding): การจัดวางลำดับผู้เล่น โดยปกติแล้วจะถูกกำหนดจากอันดับท้ายวันของวันก่อนหน้า หากไม่ได้ระบุไว้เป็นอื่น
  1. การจัดวางลำดับครั้งแรก (Initial Seeding): การจัดวางลำดับครั้งแรกของผู้เข้าแข่งขัน จะถูกกำหนดจากแรงค์และแต้ม LP ณ เวลาที่ Rank Lock เกิดขึ้น
  1. การล็อคแรงค์ (Rank Lock): การล็อคแรงค์ คือการดึงข้อมูลจากตารางอันดับภายในเกม เพื่อใช้ในการจัดวางลำดับครั้งแรกของผู้เข้าแข่งขันทุกคน
  1. Rank Lock จะเกิดขึ้น ณ วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน เวลา 00:01 น. หลังจากปิดการเช็คอินรายงานตัว
  2. การเปลี่ยนแปลงของแรงค์หลังจากที่การล็อคแรงค์เสร็จสิ้นไปแล้วจะไม่มีผลใด ๆ กับการแข่งขันหรือการจัดวางลำดับ
  3. ผู้เข้าแข่งขันทุกคน รวมถึงผู้เข้าแข่งขันรอบ Open Qualifier และผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับเชิญในรอบ Playoffs จะถูกล็อคแรงค์และจัดวางลำดับครั้งแรกพร้อม ๆ กัน
  4. หากมีผู้เข้าแข่งขันที่แรงค์และแต้ม LP เท่ากัน การจัดวางลำดับจะถูกกำหนดด้วยดุลยพินิจของผู้จัดทัวร์นาเมนต์แต่เพียงผู้เดียว
  1. การจัดวางลำดับใหม่ (Reseeding): จะมีการจัดวางลำดับผู้เข้าแข่งขันใหม่ เมื่อจำเป็นต้องจัดแบ่งกลุ่มอีกครั้งเพื่อย้ายล็อบบี้แข่ง ภายในรอบการแข่งขันเดิม
  1. การจัดวางลำดับใหม่ จะถูกกำหนดจากกฎไทเบรกเกอร์ 3 ข้อแรก
  2. ในกรณีที่การจัดวางลำดับใหม่ทำให้ผู้เข้าแข่งขันเจอผู้เข้าแข่งขันคนอื่นจากกลุ่มเก่ามากกว่าหนึ่งคน การจัดวางลำดับใหม่จะถูกกำหนดด้วยดุลยพินิจของผู้จัดทัวร์นาเมนต์แต่เพียงผู้เดียว
  1. ความเป็นสิ้นสุดของการจัดวางลำดับ: การกำหนดการจัดวางลำดับทุกชนิดโดยผู้จัดทัวร์นาเมนต์ถือเป็นที่สิ้นสุด
  1. รูปแบบการจัดแบ่งกลุ่ม (Lobby Generation): ในแต่ละแมตช์ ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งกลุ่มให้เล่นในล็อบบี้นั้น ๆ โดยที่ผู้เข้าแข่งขันที่มีลำดับ n จะถูกจำแนกให้อยู่ในกลุ่ม m โดยใช้อัลกอริทึมดังนี้:

Snake Seeding System

Pool 1

Pool 2

. . .

Pool m - 1

Pool m

1

2

. . .

m - 1

m

2m

2m - 1

. . .

m + 2

m + 1

2m + 1

2m + 2

. . .

3m - 1

3m

. . .

  1. การกระจายเงินรางวัล

  1. TFT Draw Your Destiny Open Tournament
  1. เงินรางวัลรวม: 250,000 บาท (เงินรางวัลข้างต้นยังไม่รวมการหักภาษี)

การกระจายเงินรางวัล

อันดับที่

เงินรางวัล

1st

50,000 บาท

2nd

36,000 บาท

3rd

28,000 บาท

4th

20,000 บาท

5th

14,000 บาท

6th

12,000 บาท

7th

10,000 บาท

8th

8,000 บาท

9th ~ 16th

4,000 บาท

17th ~ 24th

3,000 บาท

25th ~ 32nd

2,000 บาท

รวม 250,000 บาท

  1. ข้อปฏิบัติในการแข่งขัน

  1. บทบาทของคณะกรรมการ

  1. ความรับผิดชอบ: คณะกรรมการถือเป็นทีมงานผู้จัดทัวร์นาเมนต์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นทั้งก่อน ขณะ และหลังจากการแข่งในแต่ละแมตช์ ได้ทันที คณะกรรมการมีหน้าที่ซึ่งประกอบด้วย แต่ไม่จำกัดเพียง:
  1. การประพฤติตนของคณะกรรมการ: คณะกรรมการต้องมีความเป็นมืออาชีพตลอดเวลา และประพฤติตนและตัดสินใจอย่างเป็นกลาง โดยปราศจากความลำเอียงและอคติต่อผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่ง
  2. การตัดสินของคณะกรรมการ: หากคณะกรรมการตัดสินผิดพลาด การตัดสินนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในขณะการแข่งขัน เนื่องจากคำตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด อย่างไรก็ตามทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ขอสงวนสิทธิ์ในการประเมินและตัดสินใจภายหลัง และอาจมีการเปลี่ยนแปลงคำตัดสินเพื่อให้เกิดความยุติธรรมที่สุด หากพบว่าคณะกรรมการคนใดมีการใช้อำนาจตัดสินใจโดยไม่เป็นไปตามขั้นตอน ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ขอสงวนสิทธิ์ในการทำให้การตัดสินนั้นเป็นโมฆะ คำตัดสินจากทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ถือเป็นการตัดสินที่เด็ดขาดและเป็นอำนาจสูงสุดตลอดทั้งรายการแข่งขันนี้
  1. แพตช์ที่ใช้ในการแข่งขัน

การแข่งขัน TFT Draw Your Destiny Open Tournament จะใช้แพตช์ 14.9 ในการแข่ง โดยจะมีการแจ้งรายชื่อยูนิต อ็อกเมนต์ และบัคต่าง ๆ ที่ห้ามใช้ก่อนเริ่มการแข่ง แพตช์และรายการห้ามใช้อาจมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการแข่งขันได้ทุกเมื่อ โดยจะถูกกำหนดด้วยดุลยพินิจของผู้จัดทัวร์นาเมนต์แต่เพียงผู้เดียว

  1. การสร้างล็อบบี้เกม

  1. ประเภทล็อบบี้: ทุกล็อบบี้จะต้องถูกสร้างให้เป็น “เกมทั่วไป” และตั้งค่าปาร์ตี้ให้เป็นแบบเชิญเท่านั้นเพื่อสร้าง “ปาร์ตี้แบบปิด”
  2. ล็อบบี้ที่ไม่เต็ม: บางล็อบบี้อาจขาดผู้เข้าแข่งขันหนึ่งคนหรือมากกว่า
  1. ล็อบบี้ที่ผู้เข้าแข่งขันไม่ครบ 8 คน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากการจัดแบ่งกลุ่มแบบคนไม่ครบ หรือมีผู้เข้าแข่งขันไม่มาลงแข่ง จะดำเนินการต่อด้วยการกด “ค้นหาห้องแข่ง” เพื่อเติมจำนวนผู้เล่นให้เต็มล็อบบี้
  2. อันดับที่ผู้เล่นคนอื่นนอกเหนือจากผู้เข้าแข่งขันทำได้ในเกมนั้น ๆ จะไม่ถูกนับในผลการแข่งของแต่ละเกม เช่น หากผู้เล่นที่ไม่ใช่ผู้เข้าแข่งขันจบเกมในอันดับที่ 4 ผู้เล่นที่เป็นผู้เข้าแข่งขันคนที่ได้อันดับถัดมาจะถูกนับเป็นอันดับที่ 4 แทน โดยจะนับผู้เล่นที่ไม่ใช่ผู้เข้าแข่งขันอยู่อันดับที่ 8, 7, 6, ฯลฯ เสมอ
  3. ไม่อนุญาตให้เชิญผู้เล่นที่ไม่มีชื่อระบุไว้รายชื่อผู้เข้าแข่งขันของล็อบบี้นั้น ๆ เข้าล็อบบี้เป็นอันขาด แม้จะมีที่ว่างในล็อบบี้ก็ตาม และจะต้องนำผู้เล่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกจากล็อบบี้ทันที
  1. ข้อปฏิบัติก่อนเริ่มแข่ง

  1. ประกาศรายชื่อจัดแบ่งกลุ่ม: ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้นในทุก ๆ วัน จะมีการประกาศรายชื่อผู้เข้าแข่งขันในแต่ละล็อบบี้ ๆ และสำหรับรอบที่มีการจัดแบ่งกลุ่มใหม่ภายในวันเดียวกัน จะประกาศล็อบบี้ใหม่ภายในเวลาอันเหมาะสมหลังจากที่จบแมตช์ก่อนหน้า
  2. โฮสต์ของล็อบบี้: ผู้เข้าแข่งขันที่มีรายชื่อเป็นคนแรกในล็อบบี้ จะทำหน้าที่เป็นโฮสต์ที่สร้างล็อบบี้และเชิญผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ เข้า หากผู้เข้าแข่งขันคนแรกไม่มาลงแข่งหรือไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ ผู้เข้าแข่งขันคนที่สองในรายชื่อจะทำหน้าที่โฮสต์แทน และผู้เข้าแข่งขันคนถัดไป ๆ หากจำเป็น
  3. ขั้นตอนการสแตนด์บาย: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำตามขั้นตอนเหล่านี้อย่างเคร่งครัดก่อนเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง:
  1. รายงานตัวก่อนเริ่มแมตช์: ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องรายงานตัวก่อนเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง 30 นาที เพื่อแสดงความพร้อมในการแข่งแมตช์นั้น
  2. การเปลี่ยนโฮสต์: หากผู้ที่ทำหน้าโฮสต์ของล็อบบี้นั้นไม่แสดงตนภายใน 20 นาทีก่อนเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง ให้ผู้เข้าแข่งขันคนถัดไปในล็อบบี้ทำหน้าที่โฮสต์แทน
  3. การสร้างล็อบบี้: โฮสต์จะต้องสร้างล็อบบี้และเชิญผู้เข้าแข่งขันทุกคนในรายชื่อเข้าล็อบบี้ภายใน 10 นาทีก่อนเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง
  4. การเริ่มแมตช์ให้ตรงเวลา: การสร้างล็อบบี้และเข้าร่วมล็อบบี้ภายในเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่งเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งแมตช์ทุกแมตช์ควรเริ่มแข่งตรงตามเวลาที่กำหนดไว้
  1. ความตรงต่อเวลา: ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่แสดงตน, ไม่มา, หรือมาสาย สามารถถูกปรับแพ้หากไม่พร้อมแข่งภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีกฎดังนี้:
  1. สำหรับเกมแรกของวัน หากผู้เข้าแข่งขันไม่พร้อมแข่งภายใน 10 นาทีหลังจากเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง สามารถถูกตัดสิทธิ์ได้
  2. สำหรับเกมถัด ๆ มา หากผู้เข้าแข่งขันไม่พร้อมแข่งภายใน 5 นาที หลังจากเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง สามารถถูกตัดสิทธิ์ได้
  3. การลงโทษหรืออนุโลมในบางกรณีจะถือเป็นการตัดสินโดยใช้วิจารณญาณของคณะกรรมการและผู้จัดทัวร์นาเมนต์แต่เพียงผู้เดียว
  1. การสื่อสารระหว่างผู้เข้าแข่งขัน: ทุก ๆ การสื่อสารระหว่างผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำผ่านเซิร์ฟเวอร์ Discord อย่างเป็นทางการของรายการแข่งเท่านั้นเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส การสื่อสารผ่านช่องทางอื่น (เช่น โซเชียลมีเดีย, ข้อความส่วนตัวใน Discord, ระบบแชทภายในไคลเอนต์เกม) ถือว่าเป็นโมฆะและจะไม่ได้รับการพิจารณาในกรณีที่มีข้อโต้แย้ง นอกเสียจากได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
  1. เงื่อนไขในการเริ่มเกม

  1. การบังคับใช้เงื่อนไขการเริ่มเกม: ช้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในหัวข้อ ‘เงื่อนไขในการเริ่มเกม’ จะถูกใช้สำหรับการแข่งรอบ Open Qualifier เท่านั้น
  1. ทุก ๆ แมตช์การแข่งไม่ควรเริ่มช้าเกิน 10 นาทีจากเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง
  2. เงื่อนไขเหล่านี้จะไม่ถูกใช้ในรอบ Playoffs ซึ่งในรอบ Playoffs จะมีผู้จัดทัวร์นาเมนต์คอยดูแลกำกับเสมอ
  1. เงื่อนไขการเริ่มเกมเมื่อผู้เข้าแข่งขันในล็อบบี้ครบ: ผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มเกมได้โดยไม่ต้องรอให้กรรมการสั่งเริ่ม หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้:
  1. ผู้เข้าแข่งขันที่มีรายชื่อในล็อบบี้มาครบแล้วทุกคน
  2. ถึงเวลาหรือเลยเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง
  3. ชื่อ Riot ID ของผู้เล่นในล็อบบี้ ตรงกันกับชื่อ Riot ID ที่ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้ระบุไว้ในรายชื่อผู้เข้าแข่งขันของล็อบบี้นั้น ๆ
  1. เงื่อนไขการเริ่มเกมเมื่อผู้เข้าแข่งขันในล็อบบี้ไม่ครบ: ผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มเกมได้โดยไม่ต้องรอให้กรรมการสั่งเริ่ม หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้:
  1. ผู้เข้าแข่งขันที่มีรายชื่อในล็อบบี้มาไม่ครบทุกคน และคนที่ไม่มาไม่ได้มีการรายงานตัว
  2. เลยเวลามาแล้วอย่างน้อย 10 นาทีจากเวลาที่กำหนดให้เริ่มแข่ง
  3. ชื่อ Riot ID ของผู้เล่นในล็อบบี้ ตรงกันกับชื่อ Riot ID ที่ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้ระบุไว้ในรายชื่อผู้เข้าแข่งขันของล็อบบี้นั้น ๆ
  4. ไม่มีข้อโต้แย้งจากผู้เข้าแข่งขันใด ๆ ในล็อบบี้
  5. หากผู้เข้าแข่งขันมาไม่ครบทุกคน โฮสต์ของล็อบบี้จะต้องทำการแคปรูปหน้าจอ โดยในรูปจะต้องแสดงให้เห็นรายชื่อทุกคนที่อยู่ในล็อบบี้และเวลาปัจจุบันก่อนเริ่มเกม เพื่อเป็นหลักฐานในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้งภายหลัง
  1. การแจ้งเหตุไปยังคณะกรรมการ: เมื่อพบปัญหาดังนี้ ผู้เข้าแข่งขันจำเป็นต้องแจ้งคณะกรรมการภายในเวลาอันเหมาะสมเพื่อการพิจารณา:
  1. มีข้อโต้แย้งที่ไม่สามารถตกลงกันได้ระหว่างผู้เข้าแข่งขันในล็อบบี้นั้น ๆ และทำให้ไม่สามารถเริ่มเกมได้
  2. ชื่อ Riot ID ของผู้เล่นในล็อบบี้ ไม่ตรงกันกับชื่อ Riot ID ที่ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้ระบุไว้ในรายชื่อผู้เข้าแข่งขันของล็อบบี้นั้น ๆ
  3. มีผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ได้รับอนุญาตอยู่ในล็อบบี้และยังไม่ได้ถูกเชิญออก
  4. ปัญหาอื่น ๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
  1. การแจ้งเหตุในเกมที่ดำเนินไปแล้ว: หากมีการแจ้งเหตุหรือข้อผิดพลาดเกี่ยวกับผู้เข้าแข่งขันหลังจากที่เกมได้ดำเนินหรือจบลงไปแล้ว ดุลยพินิจในการตัดสินการดำเนินต่อของเกมและผลการแข่ง จะถือเป็นของทางคณะกรรมการและผู้จัดทัวร์นาเมนต์แต่เพียงผู้เดียว
  1. ข้อปฏิบัติเมื่อจบเกม

  1. การรายงานผลการแข่ง: ผู้เข้าแข่งขันมีหน้าที่ในการรายงานผลการแข่งของล็อบบี้ตัวเองหลังจบเกมทุกครั้ง
  1. โฮสต์ของล็อบบี้จะต้องทำการแคปรูปหน้าจอผลการแข่งในแต่ละเกม และส่งผลการแข่งขันตามขั้นตอนที่ผู้จัดทัวร์นาเมนต์ตั้งไว้
  2. หากโฮสต์ของล็อบบี้นั้นไม่สามารถทำหน้าที่รายงานผลการแข่งได้ ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นในล็อบบี้นั้น ๆ จะต้องทำหน้าที่แทน
  3. คณะกรรมการจะเป็นฝ่ายบันทึกผลการแข่ง โดยผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกตัองของผลที่ถูกบันทึกไป และต้องแจ้งข้อผิดพลาดกับคณะกรรมการภายในเวลาที่กำหนดเพื่อทำการแก้ไข อันดับท้ายวันจะถูกอัปเดตเมื่อจบวันแข่ง จบแมตช์ หรือจบเกม แล้วแต่รอบแข่ง
  1. การเริ่มเกมถัดไป: โฮสต์ของล็อบบี้ต้องสร้างล็อบบี้สำหรับเกมถัดไปทันทีเมื่อจบเกมก่อนหน้า อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันพักเบรคได้เป็นเวลา 5 นาทีก่อนเริ่มเกมถัดไป หรือตามที่ถูกกำหนดไว้โดยผู้จัดทัวร์นาเมนต์
  2. การย้ายล็อบบี้แข่ง: หากมีการแข่งหลายแมตช์ในหนึ่งวัน จะมีการจัดวางลำดับใหม่เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันไปแข่งล็อบบี้อื่น ผู้เข้าแข่งขันต้องสแตนด์บายเตรียมพร้อมเพื่อรอแข่งแมตช์ถัดไป
  3. รอบการแข่งขันถัดไป: เมื่อทุกแมตช์ในรอบของการแข่งขันสิ้นสุดลง ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับการแจ้งอันดับท้ายวันของตัวเอง รวมถึงการจัดแบ่งกลุ่มสำหรับรอบถัดไปที่ต้องแข่งภายในเวลาอันเหมาะสม
  4. หน้าที่หลังจบแมตช์: ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับการแจ้งล่วงหน้าทันทีหากมีสิ่งที่ต้องทำหลังจบแมตช์ดังนี้ แต่ไม่จำกัดเพียง: การให้สัมภาษณ์หลังจบเกม, การออกสื่อ, หรือการรายงานตัวกับผู้จัดทัวร์นาเมนต์เพื่อติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับการแข่งขัน
  1. ช่องถ่ายทอดสดหลัก

  1. ความยินยอมให้ถ่ายทอดสด: ผู้เข้าแข่งขันในรายการนี้ทุกคนถือว่ายินยอมให้เผยแพร่ภาพมุมมองหน้าจอในเกม วิดีโอ และเสียงของผู้เข้าแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นในช่องถ่ายทอดสดหลัก, บทสัมภาษณ์, วิดีโอย้อนหลัง, หรือสื่อต่าง ๆ
  2. หน้าที่ระหว่างถ่ายทอดสด
  1. เฉพาะการแข่งรอบ Playoffs เท่านั้นที่มีการถ่ายทอดสด
  2. ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับการแจ้งเตือนหากมีการถ่ายทอดสดเกมที่ผู้เข้าแข่งขันจะแข่ง
  3. ผู้เข้าแข่งขันต้องสามารถแชร์ภาพมุมมองหน้าจอในเกมให้กับทีมงานถ่ายทอดสด และใช้ไมค์ในการสื่อสารและให้สัมภาษณ์ผ่านเซิร์ฟเวอร์ Discord ได้ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีหน้าที่ทดสอบระบบและอุปกรณ์ทั้งหมดของตน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขณะการถ่ายทอดสด
  4. หากผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถทำหน้าที่ข้างต้นได้ จะต้องแจ้งผู้จัดทัวร์นาเมนต์ล่วงหน้าเพื่อหาทางแก้ไข
  1. มาตรการการถ่ายทอดสด
  1. ช่วงเตรียมการ: ผู้เข้าแข่งขันในเกมที่มีการถ่ายทอดสดจะได้รับการแจ้งให้เตรียมการล่วงหน้า ซึ่งระหว่างช่วงเตรียมการผู้เข้าแข่งขันจะต้อง:
  1. เชื่อมต่อและตรวจเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ
  2. ตรวจเช็คว่าไมค์และระบบสื่อสารใช้งานได้ตามปกติ
  3. ทดสอบระบบการแชร์ภาพมุมมองหน้าจอในเกมกับทีมงานถ่ายทอดสด
  4. ตั้งค่าในเกมตามคำเรียกร้องของทีมงานถ่ายทอดสด
  1. ช่วงเวลาสแตนด์บาย: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสแตนด์บายก่อนเริ่มเกมที่จะมีการถ่ายทอดสดและรอคำสั่งให้เริ่มเกมจากผู้จัดทัวร์นาเมนต์
  1. การเปลี่ยนตารางเวลาถ่ายทอดสด: ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงตารางเวลาหรือเกมที่จะถ่ายทอดสดได้ทุกเมื่อ
  1. กติกาของเกม

  1. กฎการออกจากเกม

  1. การยอมแพ้ (Surrender): ระหว่างเกมผู้เข้าแข่งขันจะต้องห้ามกด “ยอมแพ้” เป็นอันขาด และจะต้องปล่อยให้ตัวเองถูกกำจัดจากการได้รับความเสียหายตามปกติเท่านั้น หากมีผู้เข้าแข่งขันใด ๆ ก็ตามกด “ยอมแพ้” คณะกรรมการอาจตรวจสอบการละเมิดกฎและลงโทษ
  2. การออกจากเกมหลังจากที่ถูกกำจัด: แนะนำให้ผู้เข้าแข่งขันอยู่ในเกมจนจบแม้จะถูกกำจัดไปแล้วก็ตาม เพื่อยืนยันผลการแข่งเกมนั้น ๆ หากจำเป็น ผู้เข้าแข่งขันสามารถออกเกมได้หลังจากที่ถูกกำจัด ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้:
  1. ในเกมที่ไม่ได้มีการถ่ายทอดสด ผู้เข้าแข่งขันสามารถออกเกมได้หลังจากที่ถูกกำจัด
  2. ในเกมที่มีการถ่ายทอดสด ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องอยู่ในเกมจนจบแม้จะถูกกำจัดไปแล้วก็ตาม
  1. การรีเมคเริ่มเกมใหม่

  1. ความรับผิดชอบของผู้เข้าแข่งขัน: ผู้เข้าแข่งขันมีหน้าที่รับผิดชอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของตัวเอง ความผิดพลาดทางฮาร์ดแวร์ และปัญหาภายนอกอื่น ๆ ทั้งหมด ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อการแข่งของผู้เข้าแข่งขัน
  2. เงื่อนไขการรีเมค (Remake): ผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถรีเมคเกมใหม่เองได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลไหนก็ตาม และจะต้องแข่งกันจนจบเกมนอกเสียจากทางคณะกรรมการจะสั่งให้หยุดการแข่ง โดยคณะกรรมการจะพิจารณาการรีเมคเป็นกรณีไป แต่ไม่รับรองว่าจะให้เริ่มเกมใหม่ได้ทุกครั้ง ซึ่งมีกรณีดังนี้:
  1. หลุดการเชื่อมต่อจากเกม: การหลุดการเชื่อมต่อจากเกมในราวด์ PVE แรกเริ่มที่ทำให้พลาดโอกาสเก็บไอเทมและทำให้เลือกอ็อกเมนต์แรกไม่ได้ ให้รายงานกับทางคณะกรรมการก่อนที่จะผ่านจุดที่ไม่สามารถรีเมคได้ (อิงจากกฎ ‘สถานะเกมที่ดำเนินอย่างเป็นทางการ’) ซึ่งทางคณะกรรมการและผู้จัดทัวร์นาเมนต์จะพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลของการหลุดการเชื่อมต่อเป็นกรณีไป
  2. บัคที่ส่งผลกระทบสูง: บัคที่ส่งผลกระทบสูงต่อการแข่งของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งอาจส่งผลเปลี่ยนแปลงไปยังค่าสถานะและกลไกต่าง ๆ ของเกม โดยคณะกรรมการและผู้จัดทัวร์นาเมนต์จะใช้ดุลยพินิจในการตัดสิน ว่าบัคที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับการแข่งของผู้เล่นเพียงใด
  3. สถานการณ์ร้ายแรง: ปัญหาที่เกิดจากความไม่เสถียรของเซิร์ฟเวอร์เกม ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ที่ทำให้ผู้เข้าแข่งขันหลายคนไม่สามารถแข่งต่อไปได้อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
  4. กรณีอื่น: และกรณีอื่น ๆ ที่ผู้จัดทัวร์นาเมนต์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม
  1. สถานะเกมที่ดำเนินอย่างเป็นทางการ (Game of Record): เกมใดเกมหนึ่งนั้นจะได้รับสถานะ ‘เกมที่ดำเนินอย่างเป็นทางการ’ เมื่อผู้เข้าแข่งขันทั้งแปดคนได้เริ่มเล่นและดำเนินเกมจนถึงจุดที่ผู้เข้าแข่งขันได้รับความเสียหายครั้งแรกจากการต่อสู้ราวด์ PVP เรียบร้อย ซึ่งเกมที่ได้รับสถานะ ‘เกมที่ดำเนินอย่างเป็นทางการ’ แล้ว จะไม่สามารถรีเมคเริ่มเกมใหม่ได้หากไม่มีเหตุอันสมควรที่คณะกรรมการและผู้จัดทัวร์นาเมนต์เป็นผู้พิจารณา
  2. การรายงานปัญหา: เมื่อผู้เข้าแข่งขันพบปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อหรือพบบัคที่มีผลกระทบต่อเกมสูง ให้แจ้งกับคณะกรรมการทันที โดยคำเรียกร้องนี้จะถือว่าถูกรายงานภายในเวลาอันเหมาะสม ถึงเกมจะไม่ได้ถูกสั่งให้หยุดโดยทันทีก็ตาม
  1. การใช้โอเวอร์เลย์

  1. โอเวอร์เลย์: โอเวอร์เลย์ รวมถึง โปรแกรม, เว็บไซต์, แอดออน, และเครื่องมือเก็บข้อมูลต่าง ๆ สำหรับเกม TFT ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคอมพ์, ไอเทม, ยูนิต, อ็อกเมนต์, และสถิติต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยบุคคลที่สาม อนุญาตให้ใช้ตามเงื่อนไขดังนี้:
  1. กรณีที่อนุญาตให้ใช้ได้: ข้อมูลที่ได้จากโอเวอร์เลย์ดังกล่าว เป็นข้อมูลที่สามารถหาได้ก่อนเริ่มเกมเท่านั้น (เช่น อัตราการชนะของอ็อกเมนต์โดยเฉลี่ย)
  2. กรณีที่ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นอันขาด: ข้อมูลที่ได้จากโอเวอร์เลย์ดังกล่าว เป็นข้อมูลที่หาได้หลังจากที่เริ่มเกมไปแล้วเท่านั้น นั่นก็คือ ข้อมูลที่ถูกคำนวณใหม่หลังจากที่เริ่มเกมโดยดึงข้อมูลจากเกมนั้น ๆ หรือจากผู้เล่นคนอื่น ๆ ในเกม และถูกอัปเดตตามสถานการณ์ของเกม (เช่น อัตราการชนะของอ็อกเมนต์ที่เปลี่ยนไปตามสภาพเกมของผู้เล่น หรือ อัตราการเจอยูนิตใดยูนิตหนึ่ง ที่อิงจากจำนวนของยูนิตนั้นที่ถูกซื้อไปแล้ว)
  3. การสั่งห้ามใช้: ผู้จัดทัวร์นาเมนต์สามารถห้ามใช้โอเวอร์เลย์ต่าง ๆ ได้ทุกเมื่อระหว่างการแข่งขัน ซึ่งกำหนดด้วยดุลยพินิจของผู้จัดทัวร์นาเมนต์แต่เพียงผู้เดียว
  1. การสตรีมมุมมองตัวเอง

  1. อนุญาตให้สตรีม: ผู้เข้าแข่งขันทุกคนสามารถทำการสตรีมหน้าจอของตัวเองผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ (เช่น Twitch, YouTube, Facebook, Discord) ขณะเข้าร่วมการแข่งขันได้อย่างอิสระ
  2. การโฆษณาบนสตรีม: ผู้เข้าแข่งขันสามารถได้รับการสนับสนุนจากบริษัทหรือแบรนด์ต่าง ๆ และโปรโมทแบรนด์เหล่านั้นขณะที่สตรีมแข่งขันได้ หากแบรนด์เหล่านั้นไม่ได้อยู่ใน ‘ประเภทของสปอนเซอร์ที่ห้ามไม่ให้รับการสนับสนุนทั่วโลก’ ของ Riot Games
  3. การปรับดีเลย์บนสตรีม: ผู้จัดทัวร์นาเมนต์แนะนำให้ผู้เข้าแข่งขันปรับสตรีมของตนเองให้มีดีเลย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้เข้าแข่งขันเอง และไม่เป็นการบังคับ
  4. ความมีน้ำใจนักกีฬาในการสตรีม: หากพบว่ามีการได้เปรียบ ไม่ว่าจะด้วยจากการได้รับคำแนะนำหรือได้รับความช่วยเหลือใด ๆ ก็ตามผ่านการสตรีม จะถูกตรวจสอบหากมีการละเมิดกฎการเล่นอย่างยุติธรรมและมีน้ำใจนักกีฬา
  1. การละเมิดกฎ

  1. ความยินยอมให้ตรวจสอบ

  1. ผู้เข้าแข่งขันยินยอมและจะให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการและผู้จัดทัวร์นาเมนต์ในกรณีที่ถูกตรวจสอบว่ามีการละเมิดกฎ เมื่อคณะกรรมการขอเข้าตรวจสอบผู้เข้าแข่งขันไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องให้ความร่วมมือด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นความจริง หากพบว่าผู้เข้าแข่งขันคนใดจงใจปิดบัง ทำลายหรือปลอมแปลงข้อมูลที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการเอาผิด ผู้เข้าแข่งขันจะถูกลงโทษทางวินัยตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ ‘การลงโทษทางวินัย’
  2. ผู้เข้าแข่งขันเข้าใจและยอมรับว่าผู้จัดทัวร์นาเมนต์สามารถพิจารณาเพื่อนำผู้เล่นคนใดออกจากการแข่งหรือห้ามไม่ให้เข้าร่วมการแข่งในทัวร์นาเมนต์ ขณะที่กำลังตรวจสอบการละเมิดกฎ ตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ ‘การลงโทษทางวินัย’
  1. การลงโทษทางวินัย

  1. หากทางทีมผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้ตัดสินแล้วว่าผู้เข้าแข่งขันคนใดละเมิดกฎ อาจถูกลงโทษดังนี้:
  1. หักคะแนน
  2. บังคับให้เล่นใหม่
  3. หักลดหรือตัดสิทธิ์จากเงินรางวัล
  4. ยึดเงินรางวัลคืนบางส่วนหรือทั้งหมดที่ผู้เข้าแข่งขันได้รับไปก่อนหน้า
  5. ตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งหนึ่งแมตช์หรือมากกว่าในทัวร์นาเมนต์
  6. แบนไม่ให้เข้าร่วมรายการแข่งขันอื่น ๆ ที่ผู้จัดทัวร์นาเมนต์เป็นผู้จัดในอนาคต
  7. การตักเตือนผู้เข้าแข่งขันผ่านทั้งช่องทางส่วนตัวและช่องทางสาธารณะ
  1. ดุลยพินิจในการบังคับใช้บทลงโทษเป็นของทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์แต่เพียงผู้เดียว
  2. ผู้เข้าแข่งขันรับทราบและเข้าใจว่าการบังคับใช้บทลงโทษใด ๆ ก็ตามกับผู้เข้าแข่งขัน ไม่สามารถทำให้ผู้เข้าแข่งขันเรียกร้องหรือฟ้องร้องทางกฎหมายกับทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าแข่งขันแต่เพียงผู้เดียว
  1. ข้อพิพาทกฎ

ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์จะเป็นผู้ตัดสินใจข้อพิพาทท้วงติงเกี่ยวกับข้อบังคับระเบียบต่าง ๆ ทั้งช่องโหว่, การบังคับใช้, และการตีความของกฎระเบียบทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว

  1. เจตนารมณ์ของกฎระเบียบ

  1. ความเป็นที่สิ้นสุดของการตัดสิน

ดุลยพินิจในการตัดสินใด ๆ ของทีมผู้จัดทัวร์นาเมนต์ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการตีความกฎ, คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน, และการลงโทษผู้เข้าแข่งขันที่ประพฤติมิชอบ ถือเป็นที่สิ้นสุดและเป็นการตัดสินที่เด็ดขาด เมื่อถูกตัดสินภายใต้กฎดังกล่าวแล้ว ผู้เข้าแข่งขันรับทราบและเข้าใจว่าจะไม่สามารถยื่นอุทธรณ์และไม่สามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายเยียวยาในทางกฎหมายได้

  1. การเปลี่ยนแปลงกฎ

ทางทีมผู้จัดทัวร์นาเมนต์ขอสงวนสิทธิ์ในการเขียนปรับปรุง, แก้ไข, เปลี่ยน, หรือดัดแปลงกฎระเบียบดังกล่าวเพื่อให้การแข่งขัน TFT ดำเนินไปอย่างยุติธรรม ผู้ที่เข้าร่วมการแข่งในทัวร์นาเมนต์นี้จะถือว่าเข้าใจและยอมรับหากมีการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนหรือดัดแปลงกฎระเบียบดังกล่าว

  1. การตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขัน

ผู้จัดทัวร์นาเมนต์ขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิทธิ์หรือแบนผู้เข้าแข่งขันคนใดก็ตามที่ได้ละเมิดกฎดังกล่าว


Thailand Player Policy

  1. ข้อแนะนำทั่วไป

  1. กฎระเบียบผู้เล่นแห่งประเทศไทย (Thailand Player Policy) ฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับผู้เล่นและผู้จัดทัวร์นาเมนต์ ซึ่งกฎระเบียบฉบับนี้จะทำหน้าที่เป็นกฎระเบียบอย่างเป็นทางการของการแข่งขัน Teamfight Tactics (“TFT”) ที่จัดขึ้นโดย Riot Games (“Riot”) ในประเทศไทย กฎระเบียบฉบับนี้มุ่งเน้นไปยังความประพฤติของผู้เล่น, คุณสมบัติผู้เล่น, และความมีน้ำใจนักกีฬาที่พึงมีในการแข่งขัน
  2. ผู้จัดทัวร์นาเมนต์อาจตั้งกฎเพิ่มเติมที่ใช้ในทัวร์นาเมนต์ เพื่อส่งเสริมนโยบาย Thailand Player Policy นี้ หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกฎที่เพิ่มเข้ามากับกฎของ Thailand Player Policy ทาง Riot Games ขอสงวนสิทธิ์ในการบังคับใช้กฎด้วยดุลยพินิจของ Riot Games แต่เพียงผู้เดียว
  1. การบังคับใช้กฎ

  1. เงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้ใน Thailand Player Policy ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้เฉพาะการแข่งขัน TFT ที่จัดในประเทศไทยและทาง Riot Games Services (Thailand) Co., Ltd. เป็นผู้จัดเท่านั้น
  2. การเข้าร่วมการแข่งขัน TFT ในประเทศไทยจะบังคับใช้กฎระเบียบทั้งหมดใน Thailand Player Policy, Legal Jibber Jabber, Esports Global Code of Conduct, และ Terms of Service ของ Riot Games
  3. หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ Thailand Player Policy ฉบับนี้ อาจถูกปรับแพ้, ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน, ตัดสิทธิ์จากเงินรางวัล, หรือลงโทษทางวินัยอื่น ๆ
  4. Riot Games สงวนสิทธิ์ในการใช้ดุลยพินิจเพื่อปรับปรุง, แก้ไข, เปลี่ยน, หรือดัดแปลงกฎระเบียบใน Thailand Player Policy เมื่อใดก็ได้แต่เพียงผู้เดียว
  1. คุณสมบัติผู้เล่น

  1. ถิ่นที่อยู่อาศัย
  1. ผู้เล่นจะต้องเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยในราชอาณาจักรไทยถูกต้องตามกฎหมาย หรืออาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีก่อนถึงวันเริ่มการแข่งขันจึงจะมีสิทธิ์ลงแข่ง
  2. ผู้เล่นไม่อาจเข้าร่วมการแข่งขันได้หากการเข้าร่วมการแข่งขันเป็นการละเมิดกฎหมายท้องถิ่น
  1. หนังสือรับรองถิ่นที่พักอาศัย
  1. Riot Games ขอสงวนสิทธิในการเรียกขอดูหนังสือรับรองถิ่นที่พักอาศัยทั้งก่อน ขณะ และหลังการแข่งขัน ผู้เล่นต้องแสดงเอกสารหลักฐานที่ทางราชการออกให้กับทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ เพื่อรับรองคุณสมบัติในการเข้าร่วมการแข่งขัน
  2. เยาวชนอาจต้องให้ผู้ปกครองเป็นผู้รับรองถิ่นที่พักอาศัยแทนด้วยการแสดงหลักฐานเป็นหนังสือรับรองบุตร, หนังสือรับรองการเป็นผู้ปกครอง, หรือสูติบัตรตามที่ได้ระบุไว้ข้างต้น
  1. อายุขั้นต่ำ
  1. ผู้เล่นจะต้องมีอายุอย่างน้อย 13 ปีขึ้นไปจึงจะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน
  2. ผู้เล่นที่อายุต่ำกว่า 20 ปีจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง จึงจะมีสิทธิ์ลงแข่ง
  1. ผู้ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน
  1. ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องไม่เป็นพนักงานของ Riot Games, Inc. หรือบริษัทพันธมิตรตั้งแต่แรกเริ่มหรือ ณ จุดใดจุดหนึ่งขณะการแข่งขัน TFT
  2. รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการแข่งขันที่ควบคุมโดยบุคคลที่สามดังนี้: ผู้อำนวยการ, เจ้าหน้าที่, และพนักงานผู้บริหารจัดการการแข่งขัน ทั้งบริษัทแม่, บริษัทพันธมิตร, บริษัทลูก, ตัวแทน, ผู้ให้คำปรึกษา, ตัวแทนด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย, รวมถึงครอบครัวและผู้อาศัยในครัวเรือนเดียวกัน จะไม่มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน, ชนะรางวัล, หรือมีส่วนร่วมในการแบ่งปันเงินรางวัลกับผู้เข้าแข่งขันคนใดก็ตาม
  3. ผู้เล่นที่ถูกแบนในการแข่งขันอีสปอร์ตอย่างเป็นทางการของ Riot Games ไม่ว่าจะเกมใดก็ตาม ไม่มีสิทธิ์ลงแข่งจนกว่าจะถูกปลดแบน
  1. บัญชีผู้เล่น

  1. ผู้เล่นจะต้องใช้บัญชีเกมเพียงบัญชีเดียวเท่านั้นตลอดทั้งการแข่งขัน
  2. ชื่อบัญชีผู้เล่นไม่ควรมีเนื้อหาหยาบคาย, สบประมาท, หรือคำพูดและประโยคที่ไม่เหมาะสม
  3. หากมีผู้เล่นสองคนที่ใช้ชื่อบัญชีเหมือนกันและเข้าร่วมการแข่งขันในเวลาเดียวกัน ผู้เล่นทั้งสองคนควรปรึกษาผู้จัดทัวร์นาเมนต์และหารือกันให้มีการเปลี่ยนชื่อ ในกรณีที่ไม่สามารถประนีประนอมยอมกันได้ จะไม่อนุญาตให้ผู้เล่นทั้งสองใช้บัญชีชื่อนั้นแข่งได้ และจะต้องเลือกใช้ชื่อใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายนี้
  4. Riot Games สงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธหรือยกเลิกการใช้ชื่อบัญชีไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม
  1. การโฆษณาและการสนับสนุน

ผู้เล่นสามารถได้รับการสนับสนุนจากบริษัทหรือแบรนด์ต่าง ๆ และโปรโมทแบรนด์เหล่านั้นขณะเข้าร่วมการแข่งขัน TFT ได้หากแบรนด์เหล่านั้นเป็นไปตามข้อปฏิบัติและไม่อยู่ในอยู่ในข้อห้ามดังต่อไปนี้

  1. ประเภทของสปอนเซอร์ที่ห้ามไม่ให้รับการสนับสนุนทั่วโลก

ผู้เล่นห้ามรับการสนับสนุนและโฆษณาโดยธุรกิจหรือแบรนด์ใดก็ตามที่อยู่ใน ‘ประเภทของสปอนเซอร์ที่ห้ามไม่ให้รับการสนับสนุนทั่วโลก’ (Globally Prohibited Sponsorship Categories) ซึ่งประกอบไปด้วย:

  1. ความยินยอมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่สนับสนุนโดยสปอนเซอร์ของเกม TFT

ผู้เล่นจะต้องไม่ปิดบัง ปิดกั้นหรือนำโฆษณาสปอนเซอร์ในรายการแข่ง TFT ออก อีกทั้งผู้เล่นจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมที่สนับสนุนโดยสปอนเซอร์ของ TFT ซึ่งรวมถึงการรับรางวัลหรือเข้าร่วมพิธีต่าง ๆ ที่ Riot เป็นผู้กำกับ โดยผู้เล่นยินยอมที่จะให้มีการถ่ายรูปของผู้เล่นร่วมกับโลโก้หรือเครื่องหมายสปอนเซอร์ แต่ไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้เล่นจะต้องรับรางวัลที่มีแบรนดิ้งของสปอนเซอร์ (เช่น กุญแจรถ) แต่จะไม่มีการบังคับให้มีปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว (เช่น การเข้าไปในรถหรือการขับรถ)

  1. ทีมอีสปอร์ต

ผู้เล่นสามารถเซ็นสัญญาและเป็นตัวแทนให้กับทีมอีสปอร์ต หรือองค์กรอีสปอร์ตได้ ซึ่งทีมและองค์กรอีสปอร์ตต่าง ๆ ถือเป็นผู้สนับสนุนของผู้เล่น และจะต้องไม่อยู่ใน ‘ประเภทของสปอนเซอร์ที่ห้ามไม่ให้รับการสนับสนุนทั่วโลก’

  1. พฤติกรรมผู้เล่น

  1. จรรยาบรรณ

ผู้เล่นทุกคนจะต้องทำตามกฎระเบียบของ Esports Global Code of Conduct ของ Riot Games เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไข หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกฎระเบียบ Thailand Player Policy กับ Esports Global Code of Conduct ทาง Riot Games สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินว่าจะบังคับใช้กฎระเบียบใดได้แต่เพียงผู้เดียว

  1. จรรยาบรรณในการแข่ง
  1. การเล่นอย่างไม่ยุติธรรม: การกระทำต่อนี้ถือว่าเป็นการเล่นอย่างไม่ยุติธรรมและอาจมีบทลงโทษตามดุลยพินิจของทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์
  1. การสมรู้ร่วมคิด: การสมรู้ร่วมคิดคือการเห็นพ้องต้องกันระหว่างผู้เล่นสองคนหรือมากกว่าเพื่อทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบ พฤติกรรมการสมรู้ร่วมคิดประกอบด้วย แต่ไม่จำกัดเพียง:
  1. ความโปร่งใสในการแข่งขัน: ผู้เล่นทุกคนจะต้องพยายามเล่นอย่างเต็มที่ตลอดเวลา และประพฤติตนอย่างเหมาะสมตามหลักความมีน้ำใจนักกีฬา ซื่อสัตย์ และยุติธรรมตลอดการแข่งขัน TFT
  2. การแฮค: ห้ามไม่ให้มีการแฮค ซึ่งเป็นการดัดแปลงส่วนใดก็ตามของไคลเอนต์เกม ที่กระทำโดยผู้เล่น หรือบุคคลใดก็ตามที่กระทำทำแทนผู้เล่นเพื่อผลประโยชน์ของผู้เล่นหรือทีมของตน
  3. การจงใจใช้บัค: การจงใจใช้บัคในเกมเพื่อสร้างความได้เปรียบ ซึ่งประกอบไปด้วย แต่ไม่จำกัดเพียง: บัคในการใช้ไอเทม, บัคในการสับเปลี่ยนยูนิต, บัคในการใช้ความสามารถของยูนิตตัวนั้น, หรือการใช้ฟังก์ชั่นใดก็ตามของเกมเพื่อให้ได้เปรียบกว่าผู้เล่นคนอื่น โดยทีมผู้จัดทัวร์นาเมนต์ประเมินแล้วว่าไม่อนุญาตให้ใช้ได้
  4. การสวมไอดี: การสวมไอดีเล่นแทนผู้เล่นคนอื่น รวมถึงการโน้มน้าว, เชิญชวน, หรือสั่งให้ผู้ใดก็ตามลงแข่งโดยใช้บัญชีที่ไม่ใช่ของตัวเอง
  5. การสื่อสารกับบุคคลภายนอก: การสื่อสารกับบุคคลภายนอกที่อาจสร้างความได้เปรียบให้กับผู้เล่น หลังจากที่เริ่มเกมไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การรับข้อมูลหรือคำแนะนำการเล่นขณะแข่ง ไม่ว่าจะผ่านช่องทางสื่อสารทางเสียง, ข้อความ (รวมถึงแชทในสตรีมและแชทในเกม) หรือช่องทางสื่อสารอื่น ๆ
  6. การใช้โปรแกรมโกง: ห้ามใช้อุปกรณ์, สคริปต์, หรือโปรแกรมใด ๆ ก็ตาม ที่ถือว่าเป็นการโกงเกม ยกเว้นเครื่องมือแอดออนหรือโอเวอร์เลย์ต่าง ๆ โดยจะสามารถใช้ได้ในรอบการแข่งแบบออนไลน์นอกเสียจากมีการสั่งห้ามไม่ให้ใช้โดยผู้จัดทัวร์นาเมนต์
  7. การจงใจออกจากเกม: การจงใจออก หรือหลุดการเชื่อมต่อออกจากเกมโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  8. ดุลยพินิจของทาง Riot: การกระทำใด ๆ ก็ตามที่ทาง Riot ตัดสินแล้วว่าเป็นการละเมิดกฎหรือไม่ตรงตามมาตรฐานการแข่งขันด้วยความโปร่งใส
  1. ข้อประพฤติในงานอีเวนต์
  1. คำหยาบคายหรือคำพูดแสดงความเกลียดชัง: ห้ามไม่ให้ผู้เล่นใช้คำพูดหยาบคาย, ลามก, รุนแรง, ดูถูก, ข่มขู่, เหยียดหยาม, หมิ่นประมาท, ใส่ร้าย, ด้อยค่า, เพื่อโจมตีหรือปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังหรือเหยียดหยามกันในบริเวณการแข่งขันเป็นอันขาด และห้ามไม่ให้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวก, บริการ, หรืออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่ทาง Riot และตัวแทนมีไว้ให้ ในการเผยแพร่ข้อความที่หยาบคายหรือแสดงความเกลียดชัง ซึ่งรวมถึงการห้ามใช้คำพูดหยาบคายหรือแสดงความเกลียดชังในสตรีมและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของผู้เล่นระหว่างงานแข่งขัน
  2. พฤติกรรมก่อกวนและการสบประมาท: ผู้เล่นต้องไม่แสดงท่าทางที่เป็นการสบประมาท, ล้อเลียน, หรือก่อกวน ไปยังผู้เล่นคนอื่น, ผู้เข้าชม, ทีมงาน, หรือผู้ใดก็ตามรวมถึงต้องไม่ชักจูงให้ผู้อื่นทำตาม
  3. สุราและสารเสพติด: ห้ามไม่ให้มีการใช้, ครอบครอง, จำหน่ายจ่ายแจก, หรือตกอยู่ในฤทธิ์ของสารเสพติดควบคุมขณะที่ผู้เล่นอยู่ในงานแข่งขัน TFT รวมถึงการใช้และครอบครองยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ตัวยาดังกล่าวจะต้องเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกรและใช้ตามที่แพทย์สั่งโดยบุคคลที่ได้รับสั่งเท่านั้น ตัวยาดังกล่าวจะต้องไม่มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นของผู้เล่น ห้ามไม่ให้ผู้เล่นสูบบุหรี่ซึ่งรวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า, พ็อด, ฯลฯ ในงานแข่ง อนุญาตให้สูบได้ในบริเวณที่กำหนดไว้ให้แล้วเท่านั้น
  4. พฤติกรรมไม่เหมาะสม: การประพฤติตัวไม่เหมาะสมไม่ว่าจะกับผู้จัดทัวร์นาเมนต์, ผู้เล่นคนอื่น, หรือผู้ชมการแข่งขันจะไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งประกอบไปด้วยแต่ไม่จำกัดเพียง: การเข้าไปสัมผัสกับคอมพิวเตอร์, ร่างกาย, หรือทรัพย์สินของผู้เล่นคนอื่น หากกระทำบ่อยครั้งจะถูกลงโทษ ผู้เล่นและผู้ติดตามจะต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ
  5. ห้ามก่อกวนทีมงานถ่ายทำ: ห้ามไม่ให้ผู้เล่นยุ่งเกี่ยวรบกวนกับอุปกรณ์จัดแสง, กล้องถ่ายภาพ, หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ของทีมงานถ่ายทำ ห้ามผู้เล่นยืนบนเก้าอี้, โต๊ะ, หรือบนอุปกรณ์ถ่ายทำ ผู้เล่นจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของทีมงานถ่ายทำตลอดเวลา
  6. อุปกรณ์สื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาต: อุปกรณ์สื่อสารทั้งมือถือ, แท็บเล็ตและอื่น ๆ ที่มีเสียงเรียกเข้า จะถูกนำออกจากบริเวณแข่งขันก่อนการแข่งเริ่มขึ้น ผู้เล่นไม่สามารถส่งข้อความ, อีเมล, หรือใช้โซเชียลมีเดียได้ขณะอยู่ในบริเวณการแข่งขัน
  7. เครื่องแต่งกาย: ผู้เล่นสามารถสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ประกอบด้วยโลโก้, ตรา, หรือข้อความที่มีเพื่อการโฆษณา โดยทาง Riot Games ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามไม่ให้มีเครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสมซึ่งประกอบไปด้วย:

Riot Games สงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการเข้าร่วมการแข่งทั้งก่อนและขณะแข่งกับผู้เล่นคนใดก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเครื่องแต่งกายข้างต้น

  1. การปกปิดตัวตน: ผู้เล่นจะต้องไม่ปิดบังใบหน้าของตนเองในการแสดงตัวตนกับทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์ ทีมผู้จัดทัวร์นาเมนต์จะต้องสามารถแยกแยะใบหน้าและตัวตนผู้เล่นได้ตลอดเวลาและสามารถสั่งให้ผู้เล่นนำสิ่งบดบังใบหน้าหรือวัสดุใด ๆ ที่เป็นการรบกวนแก่ผู้เล่นคนอื่น ๆ และทีมผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้
  1. พฤติกรรมความไม่เป็นมืออาชีพ
  1. ความรับผิดชอบต่อหลักจรรยาบรรณ: ผู้ที่ละเมิดหลักจรรยาบรรณข้างต้นจะถูกลงโทษไม่ว่าจะจงใจละเมิดหรือไม่ การกระทำที่เป็นการพยายามละเมิดกฎก็จะถูกลงโทษเช่นกัน หากไม่ได้ระบุไว้เป็นอื่น
  2. การคุกคาม: ห้ามไม่ให้คุกคามผู้อื่นเป็นอันขาด การคุกคามสามารถนิยามได้ดังนี้ การกระทำอันประสงค์ร้ายที่ทำซ้ำเป็นกิจจะลักษณะในช่วงเวลาหนึ่งหรือการกระทำที่ร้ายแรงเพียงหนึ่งครั้งที่มีจุดประสงค์เพื่อข่มเหงผู้อื่นหรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  3. การล่วงละเมิดทางเพศ: ห้ามไม่ให้ล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่นเป็นอันขาด การล่วงละเมิดทางเพศสามารถนิยามได้ดังนี้ การเข้าถึงทางเพศโดยที่อีกฝ่ายไม่พึงปรารถนา ซึ่งสามารถประเมินได้จากบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนว่าการกระทำดังกล่าวพึงปรารถนาหรือเป็นการล่วงละเมิด รวมถึงภัยคุกคามทางเพศหรือการบีบบังคับผู้อื่นให้ตอบสนองทางเพศเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับข้อเสนอใด ๆ ก็ตาม
  4. การดูหมิ่นและการเหยียดเชื้อชาติ: ห้ามไม่ให้ผู้เล่นดูหมิ่นศักดิ์ศรีของประเทศ, บุคคล, หรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งผ่านการกระทำหรือคำพูดที่ดูหมิ่นเหยียดหยามชาติพันธุ์, สีผิว, เชื้อชาติ, ชาติกำเนิด, เพศ, ภาษา, ศาสนา, ความเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นด้านอื่น ๆ , ฐานะทางการเงิน, สภาพกำเนิด, รสนิยมทางเพศ, ฯลฯ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม
  5. การให้คำแถลงการณ์เกี่ยวกับ Riot Games และ TFT: ผู้เล่นยอมรับและเข้าใจว่าไม่สามารถให้คำแถลงหรือการรับรองเพื่อให้เกิดการฟ้องร้องเพื่อให้ทาง Riot Games, บริษัทพันธมิตรในเครือ, หรือ TFT เสียหาย ตามที่ Riot Games ได้ใช้ดุลยพินิจพิจารณาไว้แต่เพียงผู้เดียว
  6. การตรวจสอบพฤติกรรมผู้เล่น: หากผู้จัดทัวร์นาเมนต์ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดละเมิดข้อกำหนดใน Thailand Player Policy, Legal Jibber Jabber, Esports Global Code of Conduct, และ Terms of Service ของ Riot Games, หรือข้อกำหนดอื่น ๆ และขอเข้าตรวจสอบผู้เล่นไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ผู้เล่นจะต้องให้ความร่วมมือด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นความจริง หากพบว่าผู้เล่นคนใดจงใจปิดบัง ทำลายหรือปลอมแปลงข้อมูลที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการเอาผิด ผู้จัดทัวร์นาเมนต์มีสิทธิ์ตัดสินลงโทษด้วยดุลยพินิจอันเป็นที่สิ้นสุด
  7. อาชญากรรม: ผู้เล่นจะต้องไม่ข้องเกี่ยวกับกิจกรรมใด ๆ ที่ห้ามโดยกฎหมาย, พระราชบัญญัติ, หรือสนธิสัญญาใด ๆ ก็ตามที่สามารถถูกตัดสินโดยศาลที่มีอำนาจได้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
  8. ความประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง: ผู้เล่นจะต้องไม่กระทำหรือข้องเกี่ยวกับกิจกรรมใด ๆ ที่ Riot ตัดสินว่าผิดศีลธรรม, น่าอับอาย, หรือไม่เป็นไปตามหลักจริยธรรม
  9. การรักษาความลับ: ห้ามผู้เล่นเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับที่ผู้จัดทัวร์นาเมนต์, Riot Games, หรือบริษัทพันธมิตรของ Riot Games ได้ให้ไว้ ไม่ว่าจะผ่านช่องทางสื่อสารใด ๆ ก็ตาม ซึ่งรวมถึงทุกแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดีย
  10. การติดสินบน: ห้ามไม่ให้ผู้เล่นเสนอของกำนัลหรือรางวัลใด ๆ ก็ตามให้กับผู้เล่นคนอื่น, โค้ช, ผู้จัดการ, คณะกรรมการ, ผู้จัดทัวร์นาเมนต์, หรือพนักงานของ Riot Games
  11. ของขวัญ: ห้ามไม่ให้ผู้เล่นรับของขวัญ, รางวัล, หรือค่าตอบแทนใด ๆ เพื่อให้กระทำการใด ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเล่นอย่างไม่ยุติธรรม ซึ่งประกอบด้วยการล้มมวย, การพยายามเพ่งเล็งทีมตรงข้ามที่สัญญาไว้, หรือการกำหนดผลของแมตช์หรือเกมหนึ่ง ข้อยกเว้นได้แก่ ค่าตอบแทนตามผลงานที่ได้รับจากเจ้าของทีมหรือผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของทีมที่ผู้เล่นเป็นตัวแทนให้
  12. การกำหนดผลเกม (Match Fixing): ห้ามไม่ให้ผู้เล่นยื่นข้อเสนอหรือสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ของเกมหรือแมตช์ใดก็ตามซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือกฎระเบียบนี้
  13. การไม่ยินยอมตาม: ผู้เล่นไม่สามารถคัดค้านคำสั่งหรือการตัดสินของผู้จัดทัวร์นาเมนต์ได้
  14. การเรียกขอเอกสารและต่าง ๆ นานา: ผู้จัดทัวร์นาเมนต์อาจมีการเรียกขอเอกสารหรือข้อเรียกร้องอื่น ๆ ที่จำเป็น ณ ช่วงเวลาใดก็ตาม หากเอกสารไม่สมบูรณ์, ไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้, หรือไม่ถูกยื่นภายในเวลาที่กำหนด ผู้เล่นอาจถูกลงโทษ รวมถึงการห้ามไม่ให้ลงแข่ง
  1. การมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพนัน

ห้ามไม่ให้ผู้เล่นมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อมกับการเดิมพันหรือการพนันเกี่ยวกับผลลัพธ์เกม แมตช์ ทัวร์นาเมนต์ หรือการแข่งขันรูปแบบใด ๆ ทั้งสิ้นในเกม TFT

  1. ผู้มีสิทธิ์โดนลงโทษ

หากพบว่าผู้ใดมีความพยายามหรือได้กระทำการใด ๆ ที่ Riot ได้ใช้ดุลยพินิจตัดสินแต่เพียงผู้เดียวแล้วว่าเป็นการเล่นอย่างไม่ยุติธรรมและจะต้องถูกลงโทษว่าด้วยกฎของ Thailand Player Policy ฉบับนี้, Esport Global Code of Conduct ของ Riot Games, หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่น ๆ บทลงโทษจากการกระทำดังกล่าวจะเป็นไปตามการตัดสินอันเด็ดขาดของ Riot แต่เพียงผู้เดียว

  1. บทลงโทษ

เมื่อพบว่าผู้เล่นได้ละเมิดกฎใด ๆ ก็ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อ ‘ผู้มีสิทธิ์โดนลงโทษ’ ทาง Riot สามารถลงโทษได้โดยมีบทลงโทษดังต่อไปนี้:

หากมีการกระทำซ้ำจะมีบทลงโทษที่หนักขึ้นกว่าเดิมที่อาจรวมถึงการแบนจากการแข่งในอนาคตที่จัดโดย Riot และการลงโทษอาจไม่เป็นไปตามขั้นตอนเสมอไป Riot มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินอย่างเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวหากผู้เล่นกระทำการร้ายแรงและสามารถลงโทษแบบขั้นสูงสุดกับผู้เล่นได้ทันที ตัวอย่างบทลงโทษมาตรฐานจะอยู่ใน ‘ดัชนีบทลงโทษ’ (Global Penalty Index) ซึ่งทาง Riot สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มบทลงโทษที่ระบุไว้ทุกเมื่อ ด้วยดุลยพินิจแต่เพียงผู้เดียว

  1. สิทธิ์ในการเผยแพร่

ทาง Riot มีสิทธิ์ที่จะเผยแพร่คำประกาศว่าผู้เล่นนั้นถูกลงโทษ ซึ่งผู้เล่นที่ถูกกล่าวถึงในประกาศนี้ยอมรับและเข้าใจว่าไม่สามารถฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายใด ๆ กับทาง Riot Games, Inc. และบริษัทแม่, บริษัทลูก, พันธมิตร, พนักงาน, หรือตัวแทนและคู่ค้าสัญญาได้

  1. เจตนารมณ์ของกฎระเบียบ

  1. ความเป็นที่สิ้นสุดของการตัดสิน

ดุลยพินิจในการตัดสินใด ๆ ของผู้จัดทัวร์นาเมนต์ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการตีความกฎ, คุณสมบัติของผู้เล่น, และการลงโทษผู้เล่นที่ประพฤติมิชอบ ถือเป็นที่สิ้นสุดและเป็นการตัดสินที่เด็ดขาด ของทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์โดยการบังคับใช้กฎ Thailand Player Policy ณ ที่นี้ ผู้เล่นรับทราบและเข้าใจว่าไม่สามารถยื่นอุทธรณ์หรือฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายเยียวยาในทางกฎหมายได้

  1. การเปลี่ยนแปลงกฎ

กฎระเบียบ Thailand Player Policy ฉบับนี้อาจมีการปรับปรุง, แก้ไข, เปลี่ยน, หรือดัดแปลงเป็นครั้งคราวตามวิจารณญาณของทาง Riot เพื่อให้การแข่งขัน TFT เป็นไปอย่างราบรื่น โปร่งใส และยุติธรรม

  1. ความแตกต่างทางภาษา

กฎระเบียบฉบับนี้อาจมีการนำเสนอในภาษาอื่น ๆ หากมีการแปลคลาดเคลื่อนและขัดแย้งกัน ให้ใช้กฎระเบียบฉบับภาษาไทยเป็นหลัก

  1. ผลประโยชน์สูงสุดของ Riot Games

ทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์สามารถใช้ดุลยพินิจในกรณีจำเป็นเพื่อปกป้องผลประโยชน์สูงสุดของ Riot Games และอำนาจนี้จะไม่ถูกจำกัดแม้จะไม่มีการแปลภาษาอื่น ๆ หรือไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือกฎระเบียบฉบับนี้ ผู้จัดทัวร์นาเมนต์สามารถใช้วิจารณญาณเพื่อลงโทษบุคคลใดก็ตามเพื่อปกป้องผลประโยชน์สูงสุดของ Riot Games

  1. พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน TFT ทุกคนตกลงยินยอมให้ทาง Riot Games, Inc. หรือบริษัทพันธมิตรจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการจัดการแข่งขัน ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)


Global Penalty Index

ดัชนีบทลงโทษ (Global Penalty Index) นี้ใช้เป็นแนวทางในการลงโทษที่บังคับใช้ได้โดยผู้จัดทัวร์นาเมนต์ อย่างไรก็ตามทางผู้จัดทัวร์นาเมนต์มีอำนาจในการตัดสินลงโทษเป็นกรณีไป และอาจแตกต่างออกไปจากดัชนีบทลงโทษนี้

 บทลงโทษทั่วไป

การกระทำผิด

โทษขั้นต่ำ

โทษสูงสุด
(กระทำผิดครั้งแรก)

โทษสูงสุด
(กระทำผิดครั้งที่สอง)

ระยะเวลาโทษ

การกระทำที่ไม่เป็นอันควรของผู้เข้าแข่งขัน (เช่น พฤติกรรมท็อกซิกในเกม, แสดงท่าทางไม่เหมาะสมในรายการถ่ายทอดสด, ฯลฯ)

ตักเตือนอย่างเป็นทางการ

แบน 1 ทัวร์นาเมนต์

แบน 1 ปี

12 เดือน

การคุกคามผู้อื่น หรือกระทำการร้ายแรง

ปรับ (ลดเงินรางวัล) และ/หรือแบน 1-10 เกม

แบนจากการแข่ง TFT ทุกรายการสูงสุด 3 ปี

แบนจากการแข่ง TFT ทุกรายการสูงสุด 3 ปี

36 เดือน

ให้ข้อมูลเท็จ, สวมไอดี (เช่น การใช้รูปภาพผู้อื่น, การเล่นแทนผู้เข้าแข่งขันคนอื่น, ฯลฯ)

ปรับ (ลดเงินรางวัล) และ/หรือแบน 1-10 เกม

แบนจากการแข่ง TFT ทุกรายการถาวร

แบนจากการแข่ง TFT ทุกรายการถาวร

36 เดือน

กระทำผิดกฎหมายขณะมีการถ่ายทอดสด (เช่น การสูบบุหรี่, ดื่มสุรา, แสดงสินค้าหรือผู้สนับสนุนที่ถูกห้าม, ฯลฯ)

ตักเตือนอย่างเป็นทางการ

ปรับ (ลดหรือริบเงินรางวัล) และแบนสูงสุด 1 ทัวร์นาเมนต์

ปรับ (ลดหรือริบเงินรางวัล) และแบนสูงสุด 1 ทัวร์นาเมนต์

12 เดือน

บทลงโทษในการแข่ง

การกระทำผิด

โทษขั้นต่ำ

โทษสูงสุด
(กระทำผิดครั้งแรก)

โทษสูงสุด
(กระทำผิดครั้งที่สอง)

ระยะเวลาโทษ

การสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาตขณะการแข่ง (เช่น การได้รับคำแนะนำ, การโค้ชจากบุคคลภายนอก, ฯลฯ)

ตักเตือนอย่างเป็นทางการ

ปรับ (ลดเงินรางวัล) และ/หรือปรับแพ้

ปรับ (ลดหรือริบเงินรางวัล) และ/หรือ ตัดสิทธิ์จากการแข่ง และ/หรือแบนไม่ให้แข่ง

จนจบเซ็ต

ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ควรทำ (เช่น ไม่มารายงานตัวก่อนแข่ง, ไม่เปิดกล้องถ่ายทอดสด, ไม่ฟังแอดมิน, ออกจากการแข่งขันโดยไม่สมเหตุสมผล, ฯลฯ)

ตักเตือนอย่างเป็นทางการ

ปรับ (ลดเงินรางวัล)

ปรับ (ลดหรือริบเงินรางวัล) และ/หรือ ตัดสิทธิ์จากการแข่ง และ/หรือแบนไม่ให้แข่ง

จนจบเซ็ต

การใช้ระบบเกมในทางที่ผิด (การใช้บัคในเกมที่ห้ามใช้ในการแข่ง, ฯลฯ)

ตักเตือนอย่างเป็นทางการ

ปรับ (ลดเงินรางวัล) และ/หรือปรับแพ้ และ/หรือแบนจากการแข่ง 1 แมตช์

ปรับ (ลดหรือริบเงินรางวัล) และ/หรือ ตัดสิทธิ์จากการแข่ง และ/หรือแบนไม่ให้แข่ง

จนจบเซ็ต


Draw Your Destiny Open Tournament Rulebook

หนังสือกฎระเบียบการแข่งขัน Teamfight Tactics ประเทศไทย